ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล ดาวโหลดไฟล์ pdf
ความหมายและชนิดเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ดาวโหลดไฟล์ pdf
ตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวโหลดไฟล์ pdf
สำหรับโพรโตคอลการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะมาทำความรู้จักกับโพรโตคอลที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง คือ TCP/IP , FTP , HTTP , และ HTTPs
1. โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) นี่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน เป็นชุดของโพรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โพรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้โดยมีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน 3 ประการคือ
- เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
- ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย
- มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน
สำหรับการ Encapsulation/Demultiplexing ของโพรโตคอล TCP/IP มีขั้นตอนการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ชั้นโฮสต์-เครือข่าย (Host-to-Network) โพรโตคอลสำหรับการควบคุมการสื่อสารในชั้นนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการ หน้าที่หลัก คือ การรับข้อมูลจากชั้นสื่อสาร IP มาแล้วส่งไปยังโหนดที่ระบุไว้ในเส้นทางเดินข้อมูล ทางด้านผู้รับจะทำงานในทางกลับกัน คือ รับข้อมูลจากสายสื่อสารแล้วนำส่งให้กับโปรแกรมในชั้นสื่อสาร
2. ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ต (The Internet Layer) ใช้ประเภทของระบบการสื่อสารที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับแพ็กเกต (Packet-Switching Network) ซึ่งเป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) หลักการทำงาน คือ การปล่อยให้ข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า แพ็กเกต (Packet) สามารถไหลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่าง ๆ ในระบบจนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยอิสระ
3. ชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล (Transport Layer) แบ่งเป็นโพรโตคอล 2 ชนิดตามลักษณะ ลักษณะแรกเรียกว่า Transmission Control Protocol (TCP) เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดเวลาการสื่อสาร (Connection-Oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกเป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
4. ขั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer) มีโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือนเรียกว่า TELNET โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP และโพรโตคอลสำหรับการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า SMTP โดยโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือนช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับเครื่องโฮสต์ที่อยู่ไกลออกไปโดยผ่านอินเทอร์เน็ตและสามารถทำงานได้เสมือนว่ากำลังนั่งทำงานอยู่ที่เครื่องโฮสต์นั้น
2.โพรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) การถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าการคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่านเครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้งานกันมาก และมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP
3.โพรโตคอล HTTP (Hyper Text Transport Protocol) คือโพรโตคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่าย และการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสมใช้สำหรับการรับทรัพยารที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บการพัฒนา HTTP เป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารของความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุด คือ RFC 2616 ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
4. โพรโตคอล HTTPs หรือ Hypertext Transfer Protocol Security คือ ระบบความปลอดภัยของ HTTP protocol สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่อง server และ client คิดค้นขึ้นโดยบริษัท Netscape เมื่อปลายปี ค.ศ. 1994 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูลขณะรับ-ส่ง และเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นถูกรับ-ส่ง ระหว่างผู้รับและผู้ส่งตามที่ระบุไว้จริง โดยที่ข้อมูลจะต้องไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปจากเดิมด้วย HTTPS จะทำงานอยู่บนพอร์ต 443 (ค่าปกติ) ด้วยการเพิ่มข้อมูลในเว็บไซต์ที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure HTTP จะขึ้นต้นด้วย https:// และตรงโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะมีรูปกุญแจเป็นตัวบ่งบอกสถานะว่า ในขณะที่ใช้เบราว์เซอร์เรียกดูเว็บเพจใดๆ ก็ตาม เว็บเพจนั้นใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งหรือไม่
ที่มา : https://sites.google.com/site/kunyaandsiravit/home/prapheth-khxng-pho-to-khxl
จุดปลายทางของการรับ-ส่งข้อมูล เรียกว่า โหนด (Node) ซึ่งการที่จะทำให้แต่ละโหนดติดต่อรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้นั้นต้องมีการเชื่อมต่อที่เป็นระบบ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้สามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) จะมีคอมพิวเตอร์หลักเป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติดต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง
รูปเครือข่ายแบบดาว
ข้อดีของเครือข่ายแบบดาว
1.) มีความคงทนสูง คือ หากสายเคเบิลของบางโหนดเกิดขาดก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม โดยโหนดอื่น ๆ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
2.) เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ (Hub) ดังนั้น การจัดการและการบริการจะง่ายและสะดวก
ข้อเสียของเครือข่ายแบบดาว
1.) ใช้สายเคเบิลมากเท่ากับจำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย แต่ก็ใช้สายเคเบิลมากกว่าแบบ BUS กับแบบ RING
2.) การเพิ่มโหนดใด ๆ จะต้องมีพอร์ตเพียงพอต่อการเชื่อมโหนดใหม่ และจะต้องโยงสายจากพอร์ตของฮับ (Hub) มายังสถานที่ที่ตั้งเครื่อง
3.) เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ (Hub) หากฮับเกิดข้อขัดข้องหรือเสียหายใช้งานไม่ได้ คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับ (Hub) ดังกล่าวก็จะใช้งานไม่ได้ทั้งหมด
2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลเดียวในลักษณะวงแหวนไม่มีเครื่องคอมพวเตอร์เป็นศูนย์กลาง ข้อมูลจะต้องผ่านไปยังคอมพิวเตอร์รอบ ๆ วงแหวน และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเพื่อไปยังสถานีที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะไปในทิศทางเดียวกัน การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลจะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์ต้นทางระบุก็จะส่งผ่านไปให้คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะเป็นขั้นตอนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง
เครือข่ายแบบวงแหวน
ข้อดีของเครือข่ายแบบวงแหวน
1.) แต่ละโหนดในวงแหวนมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกัน
2.) ประหยัดสายสัญญาณ โดยจะใช้สายสัญญาณเท่ากับจำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ
3.) ง่ายต่อการติดตั้งและการเพิ่ม/ลบจำนวนโหนด
ข้อเสียของเครือข่ายแบบวงแหวน
1.) หากวงแหวนเกิดขาดหรือเสียหายจะส่งผลต่อระบบทั้งหมด
2.) ยากต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่มีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดขัดข้อง เนื่องจากต้องตรวจสอบทีละจุดว่าเกิดข้อขัดข้องอย่างไร
3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียนว่า บัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระในการส่งข้อมูลนั้นจะมีเพียงคอมพิวเตอร์ตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จากนั้นข้อมูลจะวิ่งไปตลอดความยาวของสายเคเบิล แล้วคอมพิวเตอร์ปลายทางจะรับข้อมูลที่วิ่งผ่านมา
เครือข่ายแบบบัส
ข้อเสียของเครือข่ายแบบบัส
1.) เป็นโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน และติดตั้งง่าย
2.) ง่ายต่อการเพิ่มจำนวนโหนด โดยสามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
3.) ประหยัดสายส่งข้อมูล เนื่องจากใช้สายแกนเพียงเส้นเดียว
ข้อเสียของเครือขย่ายแบบบัส
1.) หากสายเคเบิลที่เป็นสายแกนหลักขาดจะส่งผลให้เครือข่ายต้องหยุดชะงักในทันที
2.) กรณีระบบเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ จะหาข้อผิดพลาดได้ยาก
3.) ระหว่างโหนดแต่ละโหนดจะต้องมีระยะห่างตามข้อกำหนด
4. เครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน คือ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยหลาย ๆ เครือข่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวด หรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้
เครือข่ายแบบผสม
ที่มา : https://sites.google.com/site/kunyaandsiravit/home/laksna-kar-cheuxm-tx-khxng-rabb-khe-rx-khay-khxmphiwtexr
ส่วนประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทเดียวกัน
2. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card: NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณต่าง ๆ เพื่อส่งสัญญาณไปในสื่อกลาง ซึ่งแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแต่ละชนิดใช้ได้กับสื่อกลางต่างกัน และมีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต่างกัน
3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Communication media) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ในเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อกลางประเภทมีสาย และสื่อกลางประเภทไร้สาย
4. มาตรฐานในการรับ-ส่งข้อมูล (Protocol) เป็นมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย โดยที่โพรโตคอลนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล กำหนดเส้นทางในการส่งข้อมูล และตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล
5. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System: NOS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย
1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลน หรืออีเทอร์เน็ตการ์ด ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อเครือข่ายได้
2. ฮับ (Hub) คือ อุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลาย ๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมดแต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ
3. สวิตช์ (Switch) คือ อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเกจมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะ ไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
4. บริดจ์ (Bridge) คือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครือข่ายหลาย ๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลาย ๆ เซ็กเมนต์แยกออกจากกันได้ ทำให้ข้อมูลในแต่ละเซ็กเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้งเครือข่าย กล่าวคือ บริดจ์สามารถอ่านเฟรมข้อมูลที่ส่งมาได้ว่ามาจากเครื่องในเซ็กเมนต์ใด จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครื่องซึ่งอาจอยู่ในเซ็กเมนต์เดียวกันหรือต่างเซ็กเมนต์ก็ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าวทำให้ช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูลในระบบได้
5. รีพีตเตอร์ (Repeater) คือ อุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับรูปแบบเดิม เพื่อได้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลาย ๆ เซ็กเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซ็กเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้น อุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
6. โมเด็ม (Modem) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้น ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
7. เราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงมีเส้นทางเข้า - ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อให้การส่งข้อมูลเปนไปอย่างมีประพสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่เส้นทางนั้น
8. เกตเวย์ (Gateway) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์ คือ ช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือ ลักษณะของการเชื่อต่อ (Connectivity) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัยน และมีโพรโตคอลสำหรับการส่ง - รับข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และ โพรโตคอลแบบอะซิงโครนัส ส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โพรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อกำจัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่าง LAN 2 เครือข่ายหรือ LAN กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LAN กับ WAN โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เช่น X.25 แพ็กเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น